วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รูปแบบข้อมูลเวกเตอร์

คำว่าเวกเตอร์ โดยนัยแล้วคือ "เส้นที่มีทิศทาง" ด้วยเหตุนี้ข้อมูลเวกเตอร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงหมายถึงการนำเสนอข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ด้วยหลักการของเส้นที่มีทิศทางนั่นเอง "รูปแบบข้อมูลเวกเตอร์" จะเกิดจากการนำเสนอด้วยจุดที่ต่อเนื่องกัน หรือ เรียกว่า เส้นเรียงเชื่อมต่อจุด ที่ใช้นำเสนอในลักษณะของการแบ่งเส้นออกมาเป็นส่วนๆ ซึ่งในแต่ละ vertices ต่างก็จะมีจุดต้นทา่งและจุดปลายทางที่เรียกว่า "vertex"
เส้นของเวกเตอร์ มักจะถูกเรียกว่า "arcs" และ "arcs" เหล่านี้จะประกอบไปด้วยแนวของ "vertices" ซึ่งแนวของ vertices เหล่านี้ จะสิ้นสุดหรือยุติลงด้วยปุ่มปม
เมื่อพิจารณาโดยสรุปแล้ว สิ่งสำคัญในกรณีของรูปแบบข้อมูลเวกเตอร์ก็คือ รูปลักษณ์แบบจุด ซึ่งถูกกำหนดด้วยชุดของค่าพิกัด x , y เพียง 1 คู่ และเมื่อจุดเกิดการเรียงตัวมากขึ้นก็จะกลายเป็น arc โดยจุดที่เรียงตัวกันเหล่านี้ก็จะถูกเรียกใขชื่อใหม่ว่า "vertices" โดยมี node เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีคลาสสิค

ลักษณะสำคัญจะมี 3 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 ได้วิวัฒนาการมาจากเศรษศาสตร์แขนงคลาสสิคใหม่ จึงมีความคล้ายคลึงกันในด้านคตินิยม และในด้านทฤษฎีความรู้
ข้อ 2 จะแสดงถึงสภาวะดุลยภาพเพียงส่วนหนึ่ง กล่าวคือ จะเลือกพิจารณาเฉพาะบางปัจจัย
ข้อ 3 จัดว่าเป็นทฤษฎีประเภทปทัฏฐานที่กล่าวถึงสภาวะที่ควรจะเป็นซึงตรงข้ามกับทฤษฎีที่เป็นปฏิฐานที่แสดงสภาวะที่เป็นอยู่