วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดวงจันทร์ และ วัฏจักรของดวงจันทร์

ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน ดวงจันทร์ส่องแสง แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์

วัฏจักรของดวงจันทร์

เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การโคจรของโลก

โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365 1/4 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกที่มีความสามารถ ในการเก็บข้อมูลด้านแผนที่หรือข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม (Satellite images) ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs) เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าว นี้สามารถนำเข้าข้อมูลแผนที่หรือข้อมูลภาพต่างๆของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งข้อมูลแต่ละด้านจะ ถูกจัดเก็บไว้ในโปรแกรมในลักษณะของข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Layer) หรือการซ้อนทับข้อมูล (Overlays) หรือชั้นข้อมูล (Coverages) แล้วสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกัน เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลในพื้นที่

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทำความรู้จักวิชาโฟโตแกรมเมตรี

ในบรรดาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาพถ่ายในการสำรวจ โฟโตแกรมเมตรีถือเป็นวิชาหนึ่งที่จัดว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวิชาอื่นๆ อย่างเช่น วิชาการตีความภาพถ่าย และ วิชาการวิเคราะห์ช่วงคลื่นจากข้อมูลภาพถ่าย ในขณะที่โฟโตแกรมเมตรีเป็นวิชาที่มีเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญคือการ กำหนดหรือหาตำแหน่งหรือค่าพิกัดบนภูมิประเทศของสิ่งต่างๆที่ปรากฏบนภาพ วิชาที่เหลืออีกสองวิชานั้นเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการหาความหมายทาง ภูมิศาสตร์ของสิ่งเหล่านั้น ที่ในปัจจุบันอาศัยความสามารถของอุปกรณ์ถ่ายภาพในการบันทึกพลังงานในช่วง คลื่นนอกเหนือจากช่วงคลื่นที่มนุษย์รับรู้ได้กว้างและละเอียดมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายได้อย่างสมบูรณ์นั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จาก ทั้งสองด้าน ทำให้ไม่สามารถแยกวิชาทั้งสามนี้ออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด

กระบวนการทางโฟโตแกรมเมตรีสมัยใหม่มีการใช้ภาพที่ได้จากเครื่องมือหลายแบบ เช่น กล้องถ่ายภาพและเรดาร์ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้รวมถึงระบบสำหรับประมวลผลอาจเก็บและใช้ภาพที่เป็นวัสดุถ่าย ภาพหรือภาพเชิงเลขก็ได้ ภาพที่ถ่ายเป็นวัสดุถ่ายภาพจำเป็นต้องผ่านการกราดภาพเพื่อแปลงให้เป็นข้อมูล เชิงเลขสำหรับใช้ในอุปกรณ์โฟโตแกรมเมตรีสมัยใหม่ นอกจากนี้กระบวนการทางโฟโตแกรมเมตรียังสามารถทำการประวลผลได้ทั้งจากภาพ เดี่ยวหรือภาพหลายภาพที่ถ่ายเหลื่อมกันก็ได้

ขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการทางโฟโตแกรเมตรีก็คือ การหาความสัมพันธ์ทางเรขาคณิตของวัตถุบนพื้นโลกและภาพของวัตถุที่ปรากฏบนภาพ ถ่าย การหาความสัมพันธ์นี้อาจแบ่งกว้าง ๆ ได้สองวิธี วิธีแรกเป็นการใช้เครื่องมือที่ประกอบด้วยระบบภาพ ระบบกลไกและระบบไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่พบการใช้งานแล้ว ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเชิงวิเคราะห์ที่ใช้แบบจำลองหรือสมการทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบจำลองการถ่ายภาพสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับวัตถุ และใช้การประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อพบความสัมพันธ์ของวัตถุและภาพแล้วไม่ว่าด้วยวิธีใด เราสามารถรังวัดและคำนวณตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฎบนภาพได้ทั้งหมด

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้ โดย ดร. สมพร จองคำ

พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาจนถึง ขั้นที่นำมาใช้ประโยชน์ในระดับขั้นการค้า หรือการบริการสาธารณูปโภคได้แล้ว เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันแบบห่วงโซ่ของไอโซโทป* ยูเรเนียม-๒๓๕ และของไอโซโทปที่แตกตัวได้ (fissile isotopes) อื่นๆ อีก ๒ ชนิด คือ ยูเรเนียม-๒๓๓ และ พลูโตเนียม-๒๓๙ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำงานโดยหลักการของปฏิกิริยาฟิชชันแบบห่วงโซ่ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู หรือเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactor) และเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้ให้ พลังงานความร้อนออกมาด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า เตาปฏิกรณ์ หรือเตาปรมาณู การที่มีผู้นิยมเรียกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ว่า "เตาปรมาณู" นั้น อาจกล่าวได้ว่า ถูกต้องตามแนวคิด เพราะเมื่อมองในแง่ ของการใช้งานแล้ว เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ก็คือ ระบบอุปกรณ์ที่ใช้ปลดปล่อยพลังงานที่ถูกกักไว้ในแกนกลาง (นิวเคลียส) ของปรมาณูของไอโซโทปที่แตกตัวได้ และให้ ออกมาเป็นพลังงานความร้อน และอนุภาคนิวตรอนซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้ต่อไป * ไอโซโทป คือ อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมีไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ ๓ ชนิด คือ ไฮโดรเจน-๑ (1H) ไฮโดรเจน-๒ (2H) ไฮโดรเจน-๓ (3H) ธาตุยูเรเนียมมีไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ ๓ ชนิด คือ ยูเรเนียม-๒๓๔ (234U) ยูเรเนียม-๒๓๕ (235U) ยูเรเนียม-๒๓๘ (238U) ไอโซโทปบางตัวไม่มีในธรรมชาติ ต้องผลิตจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น ยูเรเนียม-๒๓๓ ได้จากทอเรียม-๒๓๒ ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กับอนุภาคนิวตรอน พลูโตเนียม-๒๓๙ ก็ไม่มีในธรรมชาติ ต้องผลิตขึ้นมาในลักษณะเดียวกันจากไอโซโทปยูเรเนียม-๒๓๘

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ช้างเผือก โดย นายอำนวย คอวนิช
คำว่า ช้างเผือก เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิดแปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วยฉะนั้นคำว่า ช้างเผือกตามความหมายที่เราเข้าใจกันจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ หน้า ๗๕ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๔) มาตรา ๔ โดยระบุไว้ว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาวขนขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ส่วน"ช้างสีประหลาด" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญจากความหมายตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า "ช้างสำคัญ" คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้างเผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วนก็ได้ เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ ๑ ในจำนวนมงคลลักษณะ๗ ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า "ช้างสีประหลาด" เท่านั้นดังนั้น ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า "ช้างเผือก"เพราะเกรงว่าจะเข้าใจสับสนกัน นอกจาก "ช้างสำคัญ" และ "ช้างสีประหลาด" แล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง "ช้างเนียม" ไว้ด้วย โดยระบุลักษณะของช้างเนียมไว้ ๓ ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย และเล็บดำ ซึ่งเป็นลักษณะของช้างที่แปลกประหลาดหายาก ดังนั้นในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า กำหนดให้ผู้ที่ครอบครองช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด ช้างเนียม ต้องนำช้างดังกล่าวขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับได้กำหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา ๒๑ ว่า ผู้ใดมีช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด หรือช้างเนียมแล้วปล่อยเสียหรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ ไม่นำขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาทและโทษนี้ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นจะพึงต้องริบเป็นของหลวง

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เพื่อน

ก็คือ
เพื่อนธรรมดาๆคนนึง ที่ดันสนิทกันมากกว่าเพื่อนธรรมดาๆทั่วๆไป

... ซึ่งมันก็ต้องมีอะไรหลายๆอย่าง

ที่คล้ายๆกับเรามากกว่าเพื่อนคนอื่น
... ถึงจะมาสนิทกันได้

... บางที อาจไม่ใช่นิสัย
... บางที อาจไม่ใช่หน้าตา
... บางที อาจไม่ใช่ฐานะ
... บางที อาจไม่ใช่ระดับความรู้

... แต่มันอาจจะมีอะไรบางอย่าง ที่ต้องเป็น มั น ค น นี้ เ ท่ า นั้ น ที่ มี

. .
... บางครั้ง


... เราก็ไม่ไป ที่ที่เราอยากไป
.. เพียงเพราะว่า มันไม่ไปด้วย


... บางครั้ง
... นั่งเงียบอยู่ได้ตั้งนาน แต่แค่เห็นหน้ามัน
... น้ำตาที่กลั้นไว้แทบตาย กลับทะลักออกมาได้จนหมด


... บางครั้ง
... ถ้ามีเสียงหัวเราะของมันด้วย
... เราจะหัวเราะได้ดังกว่านี้

... บางครั้ง
...ร้อยคำปลอบใจของใครก็ไม่รู้

... ยังอุ่นใจไม่เท่ามือมันที่แค่ตบเบาๆที่หัวไหล่
บอกเป็นนัยๆว่า
กรูอยู่ตรงนี้


...
...
ชอบคำๆนึงที่บอกว่า


. . . . . เ ร า ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น แ ค่ เ พื่ อ น . .
. . . แ ต่ เ ร า เ ป็ น ตั้ ง เ พื่ อ น ต่ า ง ห า ก . .


...เพราะเพื่อนมีความสำคัญมากๆ

... มากจนบางคนแยกไม่ออก เอาไปเปรียบเทียบกะแฟน

ว่าอะไรสำคัญกว่ากัน
.. ทั้งๆที่มันคนละเรื่องกันเลย


... แต่เมื่อเวลาที่เราอยู่ในห้วงของความรัก
... เพื่อน ... จะกลายเป็นส่วนเกินของโลกส่วนตัวเราทันที
... ไอ่เพื่อนสนิทผม มันคงจะชินแล้ว
... ที่เวลาผมมีรักทีไร ผมก็จะห่างๆมันไปทุกที


... เวลาที่จะกลับมานึกถึงมันได้อีกที

... ก็ตอนอกหักนู่นแหละ

... ก็เคยคิดเหมือนกันนะ
... ถ้าเราเป็นมัน จะรู้สึกยังไง
... คงจะประมาณว่า
... 'แม่ง ... พอมีแฟนก็ลืมเพื่อน'
... นี่ กะกรูไม่เคยช่วยห่ าไรเลย ทีกะแฟนแมร่งแทบถวายหัว'
... 'ต้องเลิกกะแฟนก่อนถึงจะจำเบอร์โทรกรูได้ใช่ไหม สราดดด'
... คิดๆดูแล้วมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ
... เพราะเวลาที่กำลังมีความสุขในห้วงของความรัก
... ก็แทบไม่ได้จะไปเที่ยวไหนกับมันเลย
...นานๆถึงจะได้คุยกันที



... แต่พอผิดหวัง พอเจ็บตัวขึ้นมา
... นาทีนั้นอยากกดโทรศัพท์ไปหามันก่อน
... อยากให้มันรับโทรศัพท์ก่อน

... ซึ่งบางทีมันนอนไปแล้วผมก็จะไล่มันกลับไปนอน

... ไม่ต้องตื่นขึ้นมาฟังเรื่องราวใดๆทั้งนั้น
... ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน แค่มันรับโทรศัพท์ ก็พอแล้ว

... แบบนี้ละมั้งที่เค้าว่า
... 'เพื่อน

คือคนที่สามารถนั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่พูดอะไรสักคำ'
... 'แต่ลุกจากกันไปได้เหมือนคุยกันไปนับล้านคำ '


... 'เพื่อน'
... 'คือคนที่เมื่อเราสุข เราไม่เห็นมันอยู่ในสายตา '
. . . 'แ ต่ เ ป็ น ค น ไ ม่ มี วั น ป ล่ อ ย ใ ห้ เ ร า ล้ ม ลง

ไ ม่ ว่ า เ ร า จ ะ ไ ป
เ จ็ บ ม าจ า ก ไ ห น . . .